วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ความรู้ เรื่อง งานฉาบปูน และเทคนิคการฉาบปูนไม่ให้แตกร้าว

  pspcementmin       วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560
งานฉาบปูน หมายถึง งานฉาบปูนผนังวัสดุก่อทั้งหมด เช่น ผนัง คสล.(คอนกรีตเสริมเหล็ก) และรวมถึงงานฉาบปูนโครงสร้าง คสล. เช่น เสา คาน และท้องพื้นในส่วนที่มองเห็นด้วยตา



ข้อกำหนดทั่วไป

1.การฉาบปูนทั้งหมด เมื่อฉาบครั้งสุดท้ายเสร็จเรียบร้อย ผนังจะต้องเรียบสะอาด สม่ำเสมอ ไม่เป็นรอยคลื่นและรอยเกรียงได้ดิ่งได้ระดับทั้งแนวนอน และแนวตั้ง มุม ทุกมุมจะต้องตรง ได้ดิ่ง และฉาก 2.หากมิได้ระบุลักษณะ การฉาบปูนเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นลักษณะ การฉาบปูนเรียบทั้งหมด

3.ปูนฉาบให้ใช้ปูนซีเมนต์ผสมเสร็จ ผสมกับน้ำตามคำแนะนำของผู้ผลิต

4.การผสมปูนฉาบ จะต้องนำส่วนผสมรวมกันด้วยเครื่องผสมคอนกรีต การผสมด้วยมือจะอนุมัติให้ได้ในกรณีที่ผู้ควบคุมงานพิจารณาเห็นว่าได้คุณภาพ เทียบเท่าผสมด้วยเครื่อง

5.ส่วนผสมของน้ำ จะต้องพอเหมาะกับการฉาบปูน ไม่เปียก หรือแห้งเกินไป ทำให้ปูนฉาบไม่ยึดเกาะผนัง

6.การทำความสะอาด ภายหลังเสร็จการฉาบปูนแต่ละวัน จะต้องทำความสะอาดปูนที่เปื้อนบนพื้นให้เรียบร้อย ปูนที่เปื้อนบนผนังที่ฉาบตกแต่งแล้ว จะต้องทิ้งให้แห้งเสียก่อน จึงขุดออกได้



เทคนิคและขั้นตอนการฉาบปูน


การฉาบที่ไม่ถูกวิธีส่งผลให้ปูนที่ฉาบนั้นมีกำลังน้อยหรือมีแรงยึดเหนี่ยวน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ผนังบ้านของท่านร้าว การควบคุมการก่อสร้างให้ดีตั้งแต่ต้นจึงมีความจำเป็น

ก่อนการฉาบปูนนั้น ต้องแน่ใจก่อนว่ามีการเตรียมพื้นผิวเป็นอย่างดี มีการฉีดน้ำรดผนังอิฐให้อิ่มตัว เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังก่ออิฐดูดน้ำจากปูนฉาบ การพรมน้ำผนังอิฐก่อนั้นต้องทำก่อนการฉาบ และทิ้งไว้สักพักให้ผิวแห้งพอหมาด ถ้าพรมน้ำแล้วผนังแห้ง ต้องพรมน้ำซ้ำ หรือใช้แปรงสลัดน้ำสลัดน้ำช่วย แต่ก็อย่าให้เยิ้มเกินไป เพราะถ้าผนังเปียกเยิ้มเกินไป ปูนฉาบก็ไม่เกาะกับผนังที่ฉาบ และจะทำให้ทำงานช้า ได้งานน้อย



เริ่มฉาบส่วนที่เป็นคอนกรีต เช่น เสาเอ็น คานทับหลัง และรอบๆ นอกจากนั้นปูนฉาบนั้นควรผสมน้ำยาฉาบปูนซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ฉาบง่ายและลดการแตกร้าวได้ ในส่วนที่เป็นรอยต่อของผนังกับส่วนต่าง ๆ เช่นผนังกับเสา หรือผนังกับเสาเอ็นควรใส่เหล็กตาข่ายกันการแตกร้าว การฉาบนั้นจะให้ดีต้องให้ช่างขึ้นปูนเค็มเหลวก่อน ต่อด้วยปูนกลาง และทับหน้าด้วยปูนจืด และบ่มน้ำในตอนเช้าของอีกวัน



การฉาบแต่ละชั้นต้องหนาไม่เกิน 1 ซม. เพื่อให้การบ่มตัวเป็นไปในเงื่อนไขใกล้เคียงกันในเนื้อปูนแต่ถ้าหากต้องมีการฉาบที่หนามากๆ ปาดหน้าด้วย สามเหลียมปาดปูนให้ได้ระดับตามที่ได้ทำปุ่มระดับไว้ หรืออาจปรับแก้ตามความเหมาะสมได้เล็กน้อย ฉาบทับผิวส่วนที่ยังไม่เต็มตามระดับให้เต็มแล้ว ปาดสามเหลี่ยมอีกครั้ง ปล่อยให้ผนังเซ็ทตัวเกือบแข็ง จึงทำการแต่งผิวหน้า ตีน้ำ ลงฟองน้ำ และ กวาดให้ผิวหน้าเรียบ



การฉาบภายนอกเพื่อป้องกันการแตกร้าวควรฉาบด้านที่แสงแดดส่องก่อนเมื่อฉาบเสร็จ แสงแดดไปทางอื่นอัตราการระเหยของน้ำลดลง จะทำให้การแตกร้าวลดลง เช่น เช้าฉาบทิศตะวันออก บ่ายฉาบทิศตะวันตก



เมื่อฉาบเสร็จแล้วปูนและน้ำจะมีปฏิกิริยาเคมีต่อเนื่องประมาณ 20 วัน เป็นอย่างน้อย ระหว่างนี้ปูนจะคายน้ำพร้อมทั้งด่าง ออกมาพร้อมกัน (เพราะฉะนั้นควรทาสีหลังฉาบปูนแล้วอย่างน้อย 20 วัน) การคายน้ำนี้จะเกิดขึ้นรวดเร็วมากที่บริเวณผิวปูน ทำให้ผิวปูนหดตัว และเกิดรอยร้าวเป็นเส้น ๆ (HAIRCRACK) หรือเรียกว่าแตกลายงา เราจึงต้องคอยบ่มน้ำช่วย เพื่อลดการแตกร้าวจาก การหดตัวของปูน การบ่มน้ำ นอกจากจะเป็นการกัน การสูญเสียน้ำ ไม่ให้ปูนหดตัวเร็วจนเกิดอาการร้าว แล้วยังเป็นการบ่มปูนให้มีกำลังแข็งแรงด้วย การพรมน้ำที่ผนังจึงเป็นเรื่องที่ควรทำหลังการฉาบแล้วเสร็จครับ แต่ในแง่การคุมงานนั้นทำได้ยาก เนื่องจากผู้รับเหมาจะอ้างว่า มาตรฐานที่ทำทั่วไปไม่ได้บ่มกัน แต่ถ้าเหลือบ่ากว่าแรงจริง ๆ อย่างน้อยควรขอร้องแกมบังคับให้บรรดาช่างรับเหมา บ่มให้ได้ซักสองวันแรก

https://goo.gl/XbhhFy

logoblog

Thanks for reading ความรู้ เรื่อง งานฉาบปูน และเทคนิคการฉาบปูนไม่ให้แตกร้าว

Newest
You are reading the newest post

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น